ABOUT SOIL
August 20th, 2009
|
Author: Administrator
|
ทำไมต้องเป็นเสาเข็มเจาะ |
เขียนโดย สุระพงศ์ on วันพุธ, มิถุนายน 17, 2009 |
คำถามที่ถามกันบ่อย ๆ ว่า เสาเข็มเจาะมันเป็นยังไง และทำไมต้องเป็น เสาเข็มเจาะ ถามกันเข้า |
มาบ่อยมาก จนผมแทบอยากจะตั้งระบบตอบรับแบบออโต้ให้คนที่โทรเข้ามาถามได้เข้าใจกัน |
ที่พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะเบื่อหรือไม่อยากตอบนะครับ แต่อาจเป็นเพราะผมไม่แน่ใจว่าการตอบของ |
ผมสามารถอธิบายได้ดีทุกครั้งเท่าการเขียนหรือเปล่าเท่านั้น แถมยังรู้สึกดีใจอีกต่างหากที่มีคนสนใจที่จะทำ เข็มเจาะ แล้วถามเข้ามาที่เรา ผมจะลองเรียบเรียงคำตอบดูนะครับ |
ถาม.. เสาเข็มเจาะคืออะไร ? |
ตอบ.. เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนเสาเข็มที่พบกันโดยทั่วไป แบบที่ใช้ |
ปั้นจั่นตอกนั่นแหละครับ แต่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน เสาเข็มเจาะจะไม่ใช้การตอกเข็มลงไปในดินโดยตรง แต่จะใช้การตอกปลอกเหล็กที่ป็นแบบหล่อคอนกรีตลงไปในดิน แล้วใส่เหล็กเทคอนกรีตลงไปในหลุมแทน |
ถาม..แล้วทำไมต้องเป็นเสาเข็มเจาะด้วย |
ตอบ..เสาเข็มเจาะมีข้อดีและข้อเสียกว่าเสาเข็มตอกที่ไม่เหมือนกันคือ เสาเข็มเจาะสามารถทำ |
งานในที่คับแคบได้ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ไม่ส่งผลกระทบกับโครงสร้างหรืออาคารข้างเคียง เพราะแรงสั่นสะเทือนน้อย สามารถใช้กับงานต่อเติมได้ แต่ข้อเสียก็มีคือ ราคาค่าเสาเข็มเจาะจะแพงกว่าเสาเข็มตอกพอสมควร และจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพในการทำงานมากกว่าเสาเข็มตอกครับ |
ถาม..แล้วบ้านผมควรจะเป็นเสาเข็มเจาะหรือตอกดี |
ตอบ..ก็แล้วแต่สภาพหน้างานของบ้านคุณครับ เช่นว่าถ้าสถานที่ก่อสร้างคุณเป็นที่ดินเปล่าโล่ง ๆ |
ไม่มีสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงรอบด้าน ไม่กลัวว่าการตอกเข็มที่กระเทือนเหมือนแผ่นดินไหว จะไปทำให้อะไรรอบข้างพังหรือแตกร้าว ก็เหมาะที่จะทำเสาเข็มตอก แต่ถ้าไม่ก็แนะนำเสาเข็มเจาะครับ |
ถาม..แล้วเสาเข็มเจาะรับน้ำหนักได้เหมือนกันกับเสาเข็มตอกหรือเปล่า |
ตอบ..การรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะสามารถรับน้ำหนักได้เหมือนกับเสาเข็มตอกทุกประการ |
ครับ บางทีอาจจะมากกว่าเสาเข็มตอกด้วยซ้ำครับ เพียงแต่ว่าการรับน้ำหนักของเสาเข็มจำเป็นจะต้องให้วิศวกรเป็นคนคำนวนหาน้ำหนักของอาคารที่จะถ่ายลงไปเสาเข็ม และวิศวกรจะเป็นคนเลือกชนิดหรือขนาดของเสาเข็มที่จะใช้ให้ครับ? แต่ถ้านำเสาเข็มเจาะไปเทียบกับเสาเข็มตอกในเรื่องการรับน้ำหนัก ก็ต้องมาดูถึงคุณภาพของการทำเสาเข็มเจาะครับ เพราะเสาเข็มเจาะมีขั้นตอนยุ่งยากในการทำงานมากกว่า จำเป็นต้องควบคุมคุณภาพในการทำงานเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชั้นดิน, การใส่เหล็กเสริม, คุณภาพคอนกรีต, การถอดปลอกเหล็ก ฯลฯ ซึ่งถ้าผู้ทำงานไม่มีความชำนาญ หรือมีความรับผิดชอบไม่พอ ก็สามารถทำให้เสาเข็มเสียหายโดยเจ้าของงานไม่รู้ได้เหมือนกัน |
ที่มา : my-construction-knowledge.blogspot.com |