บริการของเรา
August 20th, 2009
|
Author: Administrator
|
การเจาะหยั่งแบบเบา Kunzelstab (Light Penetrometer) |
เครื่องมือเจาะหยั่งแบบเบา ใช้เจาะหยั่งได้ทั้งดินเม็ดละเอียด Fine Grained Soil จนถึงดินกรวด |
สามารถทดสอบได้ในความลึก โดยประมาณ 5 เมตร เนื่องจากใช้พลังงานปริมาณต่ำ (ลูกตุ้มตอกหนัก 10 กก.) ผลการเจาะหยั่งจึงสามารถใช้ออกแบบฐานรากระดับค่าน้ำหนักบรรทุกต่ำถึงสูงปานกลาง |
Kunzelstab Penetration Test หรือวิธี Light Ram Sounding Test เป็นวิธีการหยั่ง |
ทดสอบชั้นดินในสนาม โดยใช้แรงกระแทกส่งแท่งทดสอบผ่านชั้นดินลงไป ซึ่งแรงต้านการเคลื่อนที่ของแท่งทดสอบสามารถใช้ประมาณค่ากำลัง และความหนาของชั้นดิน ผลของการทดสอบที่ได้นี้ จะทำให้ทราบคุณสมบัติทางกายภาพของชั้นดินในเบื้องต้น |
วิธีการหยั่งทดสอบนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ |
ไทย ซึ่งใช้การสำรวจดินเบื้องต้นสำหรับการออกแบบเสาไฟฟ้า ซึ่งวิธีนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย เนื่องจากมีน้ำหนักเบา จึงเหมาะกับบริเวณภูเขาสูง ป่ารก หรือบริเวณที่ห่างจากถนนมาก ๆ วิธีนี้ทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัดกว่าการเจาะสำรวจ แม้แต่ชั้นดินที่บางจนการเจาะสำรวจไม่สามารถแยกได้ อย่างชัดเจน ผลของการหยั่งก็ยังอาจจะสามารถบอกให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินนั้นได้ |
Kunzelstab Penetration Test เป็นการทดสอบกำลังต้านทานที่ปลายของหัวหยั่ง |
Cone Head โดยไม่เกิดแรงเสียดทาน ขึ้นที่ก้านเจาะ เนื่องจากหัวเจาะมีขนาดใหญ่กว่าก้านเจาะ กล่าวคือ หัวเจาะรูปกรวยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ก้านเจาะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มิลลิเมตร ค้อนตอกหนัก 10 กิโลกรัม มีระยะยก 50 เซ็นติเมตร ทำการทดสอบโดยนับจำนวนครั้งของการตอกทุกระยะ 20 เซนติเมตร (blows/20 cm.) ดังแสดงดังรูปที่ 1 และนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ดังนี้ (EGAT.,1980) |
1. คำนวณค่า Standard Penetration Resistance (SPT) ดังนี้ |
SPT | = | 0.539(KPT + 0.954) |
หรือใช้ Chart ดังรูปที่ 2 |
2. คำนวณค่ากำลังรับน้ำหนักสูงสุด Ultimate Bearing Capacity ดังนี้ |
Qs | = | 0.064(N’ - 3.57) Ksc. for sand |
Qc | = | 0.034(N’ + 0.954) Ksc. for clay |
N’ | = | 15 + 0.5(N-15) เมื่อ N › 15 |
N’ | = | N เมื่อ N ‹ 15 |
หรือใช้ Chart ดังรูปที่ 2 และตารางที่ 1 |
หมายเหตุ : ค่าการรับน้ำหนักสูงสุดของทรายในตารางที่ 1 คำนวณมาจากค่ากำลังรับน้ำหนักสูง |
สุดที่ยอมรับได้ Allowable Bearing Capacity ของทรายที่ทรุดตัวลง 1 นิ้ว จากฐานรากกว้าง 2 เมตร กับอัตราส่วนความปลอดภัย 2.5 |
3. กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Standard Penetration Tests กับค่ามุมเสียดทานภายใน |
ดังแสดงดังรูปที่ 3 นอกจากนี้ Mayerhof (1956) ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่า N (SPT)‚ Unconfined Compressive Strength (Qu) และเรียกชื่อความแข็งแรงของดินเหนียว ดังตารางที่ 3 |
|
ที่มา: EGAT 1980 |
|
ที่มา: EGAT 1980 |
|
ที่มา: EGAT 1980 |
|
ที่มา: Peck‚ Hanson and Thornburn (1973) |
ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่าง N กับความแข็งแรงของดินทราย |
ที่มา: Meyerhof (1956) |
ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่าง N กับความแข็งแรงของดินเหนียว |
ที่มา: Terzaghi และ Peck (1967) |
ที่มา : www.gerd.eng.ku.ac.th |