Grain Size Analysis
Sieve Analysis
การทดสอบ Grain Size of Sieve Analysis
เป็นการทดสอบหาขนาดเม็ดของดินและการกระจายขนาดของเม็ดดิน(Grain Size Distribution)
เพื่อประโยชน์ในการจำแนกดิน (Soil Classification) และเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของดิน การทดสอบสามารถแบ่งเป็น 2 วิธี ขึ้นอยู่กับขนาดเม็ดดิน ได้แก่
สำหรับดินที่มีเม็ดดินหยาบ การทดสอบทำโดยวิธีร่อนด้วยตะแกรง (Sieve Analaysis หรือ
Mechanical analysis) ทำโดยนำดินที่ต้องการหาขนาดใส่ลงในตะแกรงมาตรฐาน แล้วเขย่า ตะแกรงที่ใช้ร่อนมีหลายขนาด ตั้งแต่เบอร์ 4 (ขนาด 4.75 มม.) ถึง เบอร์ 200 (ขนาด 0.075 มม.) โดยเรียงตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กสุด เมื่อร่อนและนำมาชั่งก็จะคำนวณหาส่วนที่ค้างหรือผ่านตะแกรงขนาดต่างๆ เป็นเปอร์เซนต์กับน้ำหนักทั้งหมด
สำหรับดินเม็ดละเอียด ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 0.075 มม. เช่น ดินเหนียว (Clay) ดินเหนียวปนตะกอน
ทราย(Silty Clay) หรือดินตะกอนทราย (Silt) ใช้วิธีตกตะกอน (Hydrometer Analysis) ทำโดยการนำดินมาละลายน้ำแล้วใส่ลงไปในหลอดแก้วให้เม็ดดินหรือตะกอนกระจัดกระจายแขวนตัวลอยอยู่ในน้ำ แล้วใช้ไฮโดรมิเตอร์วัดอัตราการตกตะกอน หรือวัดค่าความถ่วงจำเพาะของเม็ดดินที่แขวนลอยอยู่ในน้ำตามความลึกที่กำหนดที่ช่วงเวลาต่างๆ โดยอาศัย Stoke’s Law ที่ว่า ความเร็วของการตกตะกอนจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเม็ดดิน ความ หนาแน่นของของเหลว ความหนืดของของเหลวและขนาดของเม็ดดิน กล่าวคือ ดินเม็ดใหญ่จะตกตะกอนเร็วกว่าดินเม็ดเล็ก ดังนั้น เมื่อทราบความเร็วของการตกตะกอนก็สามารถคำนวณหาขนาดของตะกอนได้
เมื่อนำผลทดสอบเพื่อหาขนาดของเม็ดดิน ทั้งดินเม็ดหยาบที่ได้จากการร่อนด้วยตะแกรงและดิน
เม็ดละเอียดที่ได้จากวิธีตกตะกอน มาเขียนเส้นความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของเม็ดดินกับจำนวนเปอร์เซนต์ของดินที่มีขนาดเล็กกว่าโดยน้ำหนัก(%fine) ในกระดาษ semi-log ก็จะได้เส้นกราฟการกระจายตัวของเม็ดดิน
ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบโดยใช้ตะแกรง คือ ปริมาณของดินที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 และค่า
สัมประสิทธิ์ที่เกี่ยวกับการกระจายของเม็ดดิน เช่น Uniformity Coefficient (Cu) และ Coefficient of Concavity (Cc) ส่วนข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไฮโดรมิเตอร์นั้นบอกเพียงปริมาณของดินที่มีขนาดเป็นดินเหนียวซึ่งไม่ได้บ่งชี้ถึงสมบัติทางด้าน Plasticity ได้แน่นอนเหมือน Liqiud limit และ Plastic Limit
ที่มา:http://opens.dpt.go.th/