SOIL BORING TEST
August 20th, 2009
|
Author: Administrator
|
เจาะดิน SOIL BORING TEST |
วิธีการเจาะดินแบบฉีดล้าง (Wash Boring) |
เป็นการเจาะดิน โดยการฉีดอัดน้ำผ่านก้านเจาะลงไปที่ก้นหลุมเจาะด้วยปั๊มน้ำแรงสูงและเป่า |
ออกมาที่หัวเจาะ ในขณะที่หัวเจาะ(Chopping Bit) กระแทกบดดินให้แตกย่อยออกเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้น้ำ สามารถพัดพาเอาดินชิ้นเล็กๆ ขึ้นมาตามผนังหลุมเจาะ ดินชิ้นเล็ก ๆ เหล่านั้นจะไหลไปลงบ่อตกตะกอนข้างหลุมเจาะ เพื่อเป็นการกรองดินเม็ดหยาบ( Coarse Grain Soil ) และน้ำจะถูกสูบกลับมาใช้ใหม่ ในการเจาะสำรวจชั้นดินวิธีนี้จำเป็นจะต้องมีการป้องกันผนังหลุมเจาะพังด้วยการ ตอก Casing ลงไปในชั้นดินเหนียวอ่อน และในกรณีที่เจาะผ่านชั้นทราย ก็จำเป็นจะต้องอาศัย Bentonite ช่วยป้องกันการพังทลายของหลุม |
ข้อดีของการเจาะดินด้วยวิธีนี้ คือ เป็นวิธีการเจาะที่ทำได้ง่าย อุปกรณ์ที่ใช้ไม่สลับซับซ้อน |
สะดวกต่อการขนย้าย สามารถถอดชิ้นส่วนและประกอบกลับได้ใหม่ในเวลาไม่นานนัก และขณะเจาะ สำรวจ จะสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของชั้นดินได้จากความแตกต่างของเศษหิน ทราย และสีของน้ำที่ล้นปากหลุมขึ้นมา พร้อมกับสังเกตความรู้สึกถึงการจับยึดของชั้นดินก้นหลุมด้วยสัมผัสจากการกระทุ้งดินก้นหลุมแต่ละครั้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของชั้นดิน ส่วนการสังเกตเศษหิน ทรายและสีของน้ำที่ล้นขึ้นมา นั้น ช่วยในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินได้อย่างคร่าวๆเท่านั้น โดยเฉพาะกรณีที่ใช้น้ำโคลนผสม Bentonite จะทำให้การจำแนกชั้นดินโดยดูจากสีของน้ำทำได้ยากขึ้น |
ข้อจำกัดของการเจาะดินด้วยวิธีนี้ คือ ไม่สามารถเจาะผ่านชั้นกรวดใหญ่ ลูกรังแข็ง หินผุหรือ |
ชั้นดินดาน |
วิธีการเจาะสำรวจดินแบบเจาะปั่น (Rotary Drilling) |
เป็นการเจาะดินโดยใช้เครื่องยนต์หมุนหัวเจาะปั่นด้วยความเร็วรอบที่กำหนด ที่หัวเจาะปั่นจะมีรู |
สำหรับฉีดปล่อยน้ำโคลนออกมาโดยสูบจากถังน้ำโคลน และคล้ายคลึงกับการเจาะล้าง แต่จะไม่ให้ความรู้สึก ซึ่งสัมผัสได้โดยตรงด้วยมือจากก้านเจาะดังเช่นวิธีเจาะล้าง ทำให้การคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของชั้นดิน ในระหว่างเจาะต้องสังเกตจากความแตกต่างของแรงกดไฮดรอลิก และอัตราการไหลลงของก้านเจาะ เป็นอย่างมาก การเจาะด้วยวิธีนี้ทำโดยใช้แรงดันจากปั๊มน้ำสามารถฉีดไล่ดินในขณะที่หมุนเจาะ และเมื่อพบดินเปลี่ยนชั้นหรือถึงระดับความลึกที่กำหนดหัวเจาะจะถูกนำขึ้นมาจากหลุมและเปลี่ยนเป็นหัวเก็บตัวอย่างแทน เพื่อให้สามารถเก็บตัวอย่างที่คงสภาพเดิมไว้ได้มากที่สุด ในปัจจุบันระบบการเจาะปั่นนี้เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการเจาะที่รบกวนชั้นดินน้อยที่สุดวิธีหนึ่ง |
ข้อดีของการเจาะดินด้วยวิธีนี้ คือ การเจาะด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับชั้นดินและหินทุกชนิด โดย |
เฉพาะในดินแข็ง ลูกรัง ทรายปนกรวด และหินผุ เพราะสามารถถอดเปลี่ยนหัวเจาะให้เหมาะกับสภาพชั้นดินได้ง่าย และสามารถเปลี่ยนเป็นหัวเจาะเพชรได้ทันทีที่ต้องการ กรณีที่เจอชั้นหิน |
ที่มา:http://opens.dpt.go.th/ |