SOIL TEST
การทดสอบ California Bearing Ratio (CBR) |
ในงานทาง วัสดุที่ใช้ก่อสร้างคันดิน หรือทำ โครงสร้างทาง นอกจากจะต้องปรับปรุงคุณภาพด้วย |
การบดอัดให้แน่น เช่น บดอัด ณ ปริมาณความชื้นที่เหมาะสม แล้ว ยังต้องคำ นึงถึงกำ ลังต้านทาน แรง หรือนํ้าหนักกด และเสถียรภาพของดิน กล่าวคือ หากดินยุบตัวมาก แต่กำ ลังต้านทานน้อย อนุมานได้ว่า บดอัดไม่แน่น หรือกลับกัน นอกจากนั้น จะต้องคำ นึงถึงเสถียรภาพของดิน เมื่อปริมาณความชื้นสูงมาก คืออิ่มตัว (Saturated) ซึ่งในทางธรรมชาติ อาจเกิดขึ้นได้ เช่นโครงสร้างทาง หรือผิวทางในภาวะที่ถูกนํ้าท่วมขัง |
การทดสอบ California Bearing Ratio (CBR) คล้ายคลึงกับการทดสอบความแน่นของการบดอัด |
ดินในห้องปฏิบัติการ (ทั้งวิธี Standard หรือ Modified Proctor) ทั้งนี้เพราะกระบวนการเตรียมตัวอย่าง อุปกรณ์ทดสอบ และวิธีทดสอบ คล้ายคลึงกัน และกระบวนทดสอบ CBR ก็จะต้องทดสอบหาความหนาแน่นของดินด้วยเสมอ เพียงแต่มีรายละเอียดการทดสอบเพิ่มเติม เช่น ทดสอบการบวมตัว (Swell) ของตัวอย่าง ภายใต้สภาวะที่ถูกแช่ในนํ้า (Soaking) ซึ่งเป็นการจำลองสภาวะของดินที่บดอัดในสนาม เช่น โครงสร้างชั้นทางต่าง ๆ ซึ่งอาจถูกนํ้าไหลบ่า หรือท่วมขัง เป็นเวลานานพอที่ทำ ให้ดินบวมตัว เสียรูป (Deform) หรือเสียเสถียรภาพในที่สุด ดังนั้น ในทางปฏิบัติ อาจแก้ไขด้วยการพยายามออกแบบให้ผิวทาง หรือโครงสร้างทางชั้นสำคัญ มีระยะปลอดพ้นนํ้า (Freeboard) อย่างเพียงพอ หรือออกแบบระบบระบายนํ้าใต้ผิวดิน (Sub drain) เช่น มีชั้นทรายรองพื้น (Sand cushion) ใต้ผิวทางคอนกรีต ระบบระบายนํ้าใต้ดินชนิดมีท่อกรุ(Perforated pipe) ตัวกรองหรือวัสดุคัดเลือกมวลค่อนข้างหยาบ ที่มีช่องว่างระหว่างมวล (Void) ค่อนข้างสูง |
นอกจากนั้น การทดสอบยังมีวัตถุประสงค์จะคำนวณค่า CBR ซึ่งเป็นค่าเปรียบเทียบ (ร้อยละ) |
ระหว่าง กำลังรับแรงต้านทาน (อาจเรียกว่า แรงธาร หรือ แรงแบกทาน - Bearing capacity) ของดิน ภายใต้นํ้าหนักกด เปรียบเทียบกับกำลังมาตรฐาน ณ ค่าระยะยุบตัว (Penetration) ที่เท่ากัน |
ที่มา:http://www.eng.ubu.ac.th/ |