SOIL TEST
August 20th, 2009
|
Author: Administrator
|
การจำแนกดินทางวิศวกรรม Soil Classification |
อ้างอิง : (ASTM D 2487-69) |
ดินเป็นวัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยสิ่งต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น กรวด, ทราย, ดินเหนียว, อินทรียสาร |
เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของ หินต้นกำเนิด, การกัดกร่อนผุพัง, การพัดพา และการตกตะกอนทับถม เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ของดินที่มีคุณสมบัติเฉพาะคล้ายกันเข้าอยู่ในพวกเดียวกัน ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การจำแนกประเภทของดินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง |
เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องกับดินอยู่หลายสาขาด้วยกัน การจำแนกประเภทดินจึงแตกต่างกันออกไป |
แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานในแต่ละสาขา เช่น ทางด้านเกษตรศาสตร์ จะจำแนกดินตามความอุดมสมบูรณ์ของธาตุสารที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ ทางด้านธรณีวิทยาอาศัยลักษณะหินต้นกำเนิด และการกัดกร่อนผุพัง เป็นปัจจัยในการจำแนก สำหรับทางวิศวกรรมโยธา พิจารณาคุณสมบัติทางฟิสิกส์และกลศาสตร์ของดินเป็นหลัก เช่น ขนาดของเม็ดดิน, แรงยึดเกาะของมวลดิน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยทางวิศวกรรมแต่ละหมวดหมู่ของดินที่จัดเข้าไว้ จะมีอักษรย่อเฉพาะซึ่งจะเป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายในหมู่วิศวกร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง |
ในวงการวิศวกรรมโยธา การจำแนกดินมีหลายระบบ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประโยชน์ |
ใช้สอย เช่น งานด้านถนนใช้ระบบ AASHO Classification ซึ่งจัดแบ่งดินตามความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน‚ งานสนามบินใช้ระบบของ FAA Classification และระบบ Unified Soil Classification ซึ่งใช้กับงานวิศวกรรมทั่ว ๆ ไป และนิยมแพร่หลายกว่าระบบอื่น ๆ |
ในบทนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดการจำแนกดินเพียง 2 ระบบ คือ |
1. ระบบ Unified Soil Classification |
2. ระบบ AASHO Classification |
ทั้ง 2 ระบบ อาศัยข้อมูลพื้นฐานในการจำแนกคล้าย ๆ กัน คือ การกระจายและขนาดของเม็ดดิน, |
ค่า Atterberg’s limits (L.L.‚ P.L.‚ P.I)‚ สีกลิ่น และการจับตัวของเม็ดดิน รวมทั้งอินทรียสารที่เจือปน |
รูปที่ 1 แผนภูมิการจำแนกประเภทดินโดยระบบ Unified Soil |
ตารางที่ 1 การจำแนกโดยระบบ Unified Soil Classification system |
การจำแนกโดยระบบ Unified Soil Classification |
ใช้อักษรย่อ 2 ตัว ทำให้จดจำง่าย และมีความหมายในตัวเอง เช่น G = Gravel (กรวด)‚ |
S = Sand (ทราย)‚ M = Silt (ดินทราย)‚ C = Clay (ดินเหนียว)‚ W = Well Graded (เม็ดคละ)‚ P = Poorly Grade (เม็ดไม่คละ)‚ H = High Liquid Limit (L.L. มีค่าสูง)‚ L = Low Liquid Limit (L.L. มีค่าต่ำ) หรือ O = Organic (ดินมีอินทรียสารปนมาก) ดังแสดงในรูปที่ 1 และตารางที่ 1 |
ขั้นตอนในการจำแนกอาจทำได้ดังนี้ |
1. แบ่งตามลักษณะขนาดเม็ดดิน เป็นพวกเม็ดหยาบได้แก่ กรวด (Gravel) และทราย |
(Sand) และพวกเม็ดละเอียด ได้แก่ ดินเหนียว (Clay) และดินทราย (Silt) |
2. แบ่งย่อยตามลักษณะการกระจายของเม็ดดิน สำหรับพวกเม็ดหยาบเป็นพวกที่เม็ดคละหลาย |
ขนาด (Well Graded) และเม็ดไม่คละ เนื่องจากมีเม็ดขนาดเดียวกันมากหรือขนาดเม็ดขาดช่วง (Poorly Grade) |
3. แบ่งย่อยตามค่า Atterberg’s limits สำหรับพวกเม็ดละเอียด เรียกว่า Plasticity เช่น พวก |
มีค่า L.L. และ P.I สูง เรียกว่า High Liquid Limit เป็นต้น |
เมื่อถึงขั้นสุดท้าย จะมีอักษรย่อแทน 2 ตัว (ในกรณีก้ำกึ่งใช้ 4 ตัว) เช่น CH‚ GW‚ SP หรือ |
GM-GC‚ ML-CL |
การจำแนกโดยระบบ AASHO Classification |
ใช้อักษรย่อจาก A-1 ถึง A-7 โดยที่เรียงลำดับจากความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทาง |
คือ A-1 ถึง A-3 เหมาะสมมาก ส่วน A-4 ถึง A-7 พอใช้ถึงใช้ไม่ได้ นอกจากนั้นยังมีการแบ่งย่อยลงไปอีกสำหรับกรุ๊ป A-1‚ A-2‚ A-7 เช่น A-1-a‚ A-1-b‚ A-2-4‚ A-2-7‚ A-7-5 เป็นต้น ดังแสดงในตารางที่ 2 |
ขั้นตอนในการจำแนกอาจทำได้ดังนี้ |
1. แบ่งตามการกระจายของเม็ดดิน |
2. แบ่งตามค่า Atterberg’s Limits |
3. แบ่งตามค่า Group Index (G.I.) |
เมื่อถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีอักษรต่อ 2 หรือ 3 และมีวงเล็บต่อท้ายด้วยค่า Group Index เช่น |
A-1-a(0)‚ A-3(0)‚ A-7-b(12) |
วิธีการจำแนก |
เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการเข้าใจในการจำแนกดินตามขั้นตอนต่าง ๆ จึงขอยกตัวอย่างข้อมูลจาก |
การหาขนาดเม็ดดิน และ Atterberg’s limits สัก 3 ตัวอย่าง คือ SOIL A‚ B‚ C ในตารางที่ 3 |
ตารางที่ 2 รายละเอียดการจำแนกดินระบบ AASHO Classification |
รูปที่ 2 กราฟสำหรับหาค่า Group Index และกราฟการจำแนกย่อยของกรุ๊ป A-4 ถึง A-7 |
ตารางที่ 3 ตัวอย่างข้อมูลเพื่อการจำแนกดิน |
ระบบ Unified Soil Classification |
SOIL A |
เมื่อพิจารณาข้อมูลจากตารางที่ 3 และรูปที่ 1 และตารางที่ 1 จะจำแนกดิน SOIL A ตามขั้นตอน |
ดังนี้ |
1. พิจารณาว่าเป็นดินเม็ดหยาบ เพราะขนาดที่เล็กกว่าตะแกรงเบอร์ 200 มีเพียง 1.5% เท่านั้น |
2. เป็นดินทราย (Sand) เพราะขนาดที่เล็กกว่าตะแกรงเบอร์ 4 มีถึง 61.0% |
3. เป็นดินทรายที่มีส่วนของเม็ดเล็ก (Fine)น้อย (น้อยกว่า 5% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200) จึงเป็น |
จำพวก SW หรือ SP |
4. พิจารณาการกระจายของเม็ดดินจากรูปที่ 3 |
ดังนั้น ดินตัวอย่าง SOIL A เป็น SW (Well graded sand‚ with little fine) สำหรับ SOIL B และ |
SOIL C ได้รวมการจำแนกและเหตุผลในตารางที่ 4 |
รูปที่ 3 กราฟการกระจายของเม็ดดินจากตัวอย่าง SOIL A‚ SOIL B‚ และ SOIL C |
ตารางที่ 4 ขั้นตอนการจำแนกตัวอย่างดิน SOIL B และ C |
2. ระบบ AASHO Classification |
SOIL A |
โดยการนำข้อมูลจากตารางที่ 3 นำไปพิจารณาเปรียบเทียบกับตารางที่ 2 ซึ่งมีมาตรฐานการ |
จำแนกดินในระบบนี้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้ |
1. เป็นจำพวก Granular Material เพราะส่วนที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มีเพียง 1.5% น้อยกว่า |
35% |
2. จากการกระจายของเม็ดทำให้ทราบว่าตัวอย่างดินอาจจะอยู่ในจำพวก A-1 หรือ A-2 เนื่องจาก |
ข้อมูลส่วนที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 10‚ 40‚ และ 200 สอดคล้องกัน |
3. พิจารณาข้อมูลจาก Atterberg’s limit; L.L. = 33.2‚ P.I = 6.8 ตรงกับคุณสมบัติของจำพวก |
A-2-4 คือ L.L. ไม่เกิน 40‚ และ P.I ไม่เกิน 10 |
4. หาค่า Group Index จากรูปที่ 2 หรือสมการข้างล่าง |
G.I. | = | 0.2a + 0.005 a.c + 0.01 b.d | สมการที่ 1 |
เมื่อ : | a |
|
% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ส่วนที่เกิน 35% แต่ต่ำกว่า 75% ใช้เลขจำนวนเต็ม |
เมื่อ : | b |
|
% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ส่วนที่เกิน 15% แต่ต่ำกว่า 55% ใช้เลขจำนวนเต็ม |
เมื่อ : | c |
|
ค่า L.L. ส่วนที่เกิน 40% แต่ต่ำกว่า 60% ใช้เลขจำนวนเต็ม |
เมื่อ : | d |
|
ค่า P.I ส่วนที่เกิน 10% แต่ต่ำกว่า 30% ใช้เลขจำนวนเต็ม |
หมายเหตุ : ในกรณีที่ค่า a‚ b‚ c หรือ d มีค่าเกิน 40‚ 40‚ 20 และ 20 ตามลำดับ ให้ใช้ค่าสูงสุด คือ |
40‚ 40‚ 20 และ 20 |
ในกรณี SOIL A |
a = 0‚ b = 0‚ c = 0‚ d = 0 |
ดังนั้นค่า G.I (SOIL A) = 0 |
แต่ในกรณี SOIL B |
a |
|
51.2 - 35 |
|
16.2 ใช้ 16 |
b |
|
51.2 - 15 |
|
36.2 ใช้ 36 |
c |
|
55.0 - 40 |
|
15.0 ใช้ 15 |
d |
|
35.0 - 10 |
|
25.0 ใช้ 20 เพราะเกินกว่าค่าสูงสุด |
ดังนั้น G.I. (SOIL B) = 0.2(16) + 0.005(16)(15) + 0.01(36)(20) |
= 11.6 ใช้ 12 |
5. สัญลักษณ์จากการจำแนก SOIL A คือ A-2-4 (0) โดยที่ตัวเลขในวงเล็บคือค่า Group Index |
สำหรับ SOIL B และ C ได้รวมการจำแนกและเหตุผลในตารางที่ 5 |
ตารางที่ 5 ขั้นตอนการจำแนกตัวอย่างดิน SOIL B และ C โดยระบบ AASHO Classification |
ที่มา : www.gerd.eng.ku.ac.th |