SOIL TEST
August 20th, 2009
|
Author: Administrator
|
ความถ่วงจำเพาะของเม็ดดิน SPECIFIC GRAVITY OF SOIL |
อ้างอิง : (ASTM D 854-58) |
ความถ่วงจำเพาะของวัตถุใด ๆ คืออัตราส่วนของน้ำหนักในอากาศของวัตถุนั้น ต่อ น้ำหนักน้ำที่ |
อุณหภูมิ 4 °C ที่มีปริมาตรเท่าวัตถุนั้น |
ในมวลดิน จะประกอบด้วยธาตุสารหลายอย่าง ดังนั้นความถ่วงจำเพาะในมวลดินก็คือ ค่าเฉลี่ย ของ |
ความถ่วงจำเพาะของธาตุสารเหล่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าดินลูกรังบางชนิดมีธาตุเหล็กอยู่มาก จึงทำให้มีความถ่วงจำเพาะสูงถึง 3.00 หรือมากกว่า ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบสำคัญ ก็จะทำให้มี ถ.พ.ต่ำ ถึงประมาณ 2.00 แต่ค่าเฉลี่ยจะอยู่ในระหว่าง 2.60 ถึง 2.70 สำหรับดินทั่ว ๆ ไป |
ความถ่วงจำเพาะ จะเป็นคุณสมบัติพื้นฐานสำคัญอีกค่าหนึ่ง ทำให้สามารถคำนวณหาปริมาตรช่อง |
ว่าง Void Volume ความอิ่มตัว Degree of Saturation‚ ความพรุน Porosity และอื่น ๆ ได้ ทั้งยังจะทำให้คาดได้ว่ามวลดินนั้น ๆ ประกอบด้วยธาตุสารอะไรเป็นองค์ประกอบ |
|
|
|
แร่ส่วนใหญ่ที่พบในดินเหนียว |
ทฤษฎี |
การหาความถ่วงจำเพาะของเม็ดดิน ต่อไปจะเรียกว่า ถ.พ. ทำได้โดยใช้ขวดหา ถ.พ. |
Volumetric Flask ขนาด 100-500 ล.บ.ซ.ม. ซึ่งเหมาะสำหรับดินที่มีขนาดเม็ดใหญ่ และ ขวดจุกแก้วขนาด 25-100 ล.บ.ซ.ม. สำหรับดินเม็ดละเอียด แต่วิธีการทดสอบส่วนใหญ่เหมือนกัน จึงขอกล่าวเฉพาะการใช้ขวดแบบแรกเท่านั้น |
|
|
เมื่อ | ϒ | = | ความหนาแน่นเฉพาะเนื้อดินหรือน้ำ (ไม่รวมช่องว่าง) |
WS | = | น้ำหนักเนื้อดินแห้ง |
WW | = | น้ำหนักน้ำที่มีปริมาตรเท่าเนื้อดินที่อุณหภูมิ 4° เซลเซียส |
น้ำหนักเนื้อดินนั้นเราสามารถหาได้โดยการชั่งน้ำหนักดินอบแห้ง แต่น้ำหนักน้ำที่มีปริมาตรเท่าเนื้อ |
ดิน ทำได้โดยการนำมวลดินไปแทนที่น้ำ แต่จะมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขคือ มักจะเกิดฟองอากาศเล็ก ๆ ปนกับน้ำผสมดิน และน้ำหนักของน้ำในขวด ถ.พ. ที่ระดับขีดปากขวดจะเปลี่ยนแปลงไปกับอุณหภูมิ จึงต้องมีเทคนิคการแก้ปัญหาดังกล่าวคือ |
1. กำจัดฟองอากาศโดยใช้ปั๊มดูดสูญญากาศ Vacuum Pump หรือต้มไล่ฟองอากาศ และใน |
ขณะเดียวกันก็ใช้น้ำกลั่นที่ปราศจากฟองอากาศ De–aired water |
เครื่อง de-aired water (Catalogue ELE) |
2. ชั่งน้ำหนักขวดมีน้ำเต็มที่อุณภูมิต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับการใช้งาน แล้วเขียนเป็นกราฟสำหรับปรับ |
แก้ เรียกว่า Calibration of Volumetric Flask |
ผลของการทดสอบหา ถ.พ. ของดิน จึงมักขึ้นอยู่กับความละเอียด พิถีพิถัน ของผู้ทดลองเป็นอย่าง |
มาก จึงขอแสดงค่า ถ.พ. ของดินบางชนิดไว้พอเป็นแนวทาง ในการพิจารณาเปรียบเทียบกับผลที่ได้ดังในตารางข้างล่าง |
ตารางแสดงค่าความถ่วงจำเพาะของดิน |
ที่มา : www.gerd.eng.ku.ac.th |