Total Unit Weight Service บริการหาน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร

ASTM D 4254-00
ASTM D 4253-00

total unit weight

ค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) มีความสำคัญ เป็นพื้นฐานในการคำนวณค่าหน่วยแรงกดทับของชั้นดินตามธรรมชาติที่ความลึก ต่างๆ ซึ่งเป็นค่าคงตัวที่เป็นตัวแปรในสูตรการคำนวณต่างๆ เช่นการคำนวณค่าน้ำหนักบรรทุกของฐานราก การคำนวณการทรุดตัวของดิน เป็นต้น การทดลองหาค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight)โดยทั่วไปจะจำกัดเฉพาะดินเหนียวที่สามารถตั้งรูปทรงได้ ตัวอย่างที่ทดสอบต้องเป็นตัวอย่างดินคงสภาพ ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ไม่สามารถทดลองกับตัวอย่างทราย-กรวดได้ เพราะไม่สามารถเก็บตัวอย่างแบบคงสภาพได้ (การเก็บตัวอย่างด้วยกระบอกโดยทั่วไปถือว่าตัวอย่างจะถูกรบกวนไปบ้างแล้ว) อย่างไรก็ตามในบางกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องได้ค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วย ปริมาตร (Total Unit Weight) ของดินสามารถทำได้หลายวิธี คือ

1. วิธีใช้วงแหวนตัวอย่าง (Sample Ring) มีข้อดีที่ทดลองได้สะดวก รวดเร็วใช้ตัวอย่างดินน้อย ซึ่งเป็นตัวอย่างการทดลองในบทนี้ แต่อาจจะไม่เหมาะกับดินที่มีกรวด-ทรายปน

2. วิธีใช้วัดปริมาตรดินในกระบอก สำหรับตัวอย่างดินที่แข็งมาก ไม่สามารถดันตัวอย่างดินออกจากกระบอกได้ และดินที่มีกรวด-ทรายผสม เมื่อดันตัวอย่างดินออกมาแล้ว อาจจะไม่ทรงตัว

3. วิธีใช้หาปริมาตรของดินด้วยการแทนที่น้ำหรือปรอท สำหรับดินเหนียวที่มีสัมประสิทธิ์การซึมผ่านต่ำที่จะไม่ซึมซับน้ำเข้าไปใน ตัวอย่างในระยะเวลาสั้นๆ สามารถใช้วิธีแทนที่น้ำได้ ส่วนดินที่แห้งและแตกง่ายควรใช้วิธีแทนที่ปรอทวิธีนี้สามารถใช้กับตัวอย่าง ดินที่ไม่เป็นรูปทรงแน่นอน (Irregular Shape)

อีกวิธีหนึ่งที่จะได้น้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) ระหว่างทดลองแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด (Unconfined Compression Test) และทดสอบอัดตัวคายน้ำ (Consolidation Test) การทดสอบแรงอัด 3 แกน (Triaxial Test) เมื่อได้ทำการตัดแต่งตัวอย่างเป็นรูปทรงที่แน่นอน ก็สามารถคำนวณค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) ได้โดยตรงและจะต้องรายงานค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) ของตัวอย่างดินประกอบรายงานด้วยค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight) ของชั้นดิน บริเวณ ต.ปากคลองปลากด อ.พระสมุทรเจดีย์ ในตารางที่ 1

ตัวอย่างสรุปผลการทดสอบความชื้น น้ำหนักต่อหน่วยปริมาณชั้นดิน

ตัวอย่างสรุปผลการทดสอบความชื้น น้ำหนักต่อหน่วยปริมาณ ชั้นดิน บริเวณต.ปากคลองปลากด อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

1. ค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight)

total unit weight value

ค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตร (Total Unit Weight)

ปริมาตรวงแหวน

volume of ring

ปริมาตรวงแหวน

เมื่อ :
d = ค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางวงแหวน (ซม.)
h = ค่าเฉลี่ยความสูงวงแหวน (ซม.)

2. ค่าน้ำหนักแห้งต่อหน่วยปริมาตร (Dry Unit Weight)

dry unit weight

ค่าน้ำหนักแห้งต่อหน่วยปริมาตร (Dry Unit Weight)

เมื่อ :
W = ความชื้นของดิน

3. คิดเป็นหน่วย SI คูณ rd ด้วยค่าแรงโน้มถ่วง g = 9.807 (ม /วินาที2)

Comments are closed.