งานทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ
เรามีวิศวกรโยธา และทีมงานมือาชีพประจำห้องปฏิบัติงาน พร้อมเครื่องมือ และอุปกรณ์งานทดสอบดินที่ทันสมัย เรามีงานบริการ ทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็น ทดสอบขีดจำกัดอัตเตอร์เบอร์ก Atterberg’s Limits Test การทดสอบหาขนาดของเม็ดดิน โดยใช้ตะแกรงมาตราฐาน Grain Size of Sieve Analysis การทดสอบแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด Unconfined Compression Test การทดสอบเพื่อหาหน่วยน้ำหนักรวม Total Unit Weight การทดสอบหาปริมาณความชื้นในดิน Water Content
การทดสอบหาขีดจำกัดอัตเตอร์เบอร์ก Atterberg Limits Test (ASTM-D423, ASTM-D424)
การทดสอบดิน เพื่อหาค่าขีดจำกัดหลว (Liquid Limit) ในดิน จะเริ่มจากการเตรียมตัวอย่างดิน ลงในถ้วยเคาะ และบากตัวอย่างดินด้วยเครื่องมือบาก ความชื้น ณ จุดที่เคาะได้ 25 ครั้ง แล้วรอยบากเคลื่อนมาบรรจบกันประมาณ 1 เซนติเมตร คือ ค่าขีดจำกัดเหลว
การทดสอบดิน เพื่อหาค่าขีดจำกัดพลาสติก (Plastic Limit) เป็นลักษณะของ งานปั้นคลึงตัวอย่างดินเป็นเส้นยาว ขนาด 1/8 นิ้ว แล้วมีรอยแตกปริโดยรอบผิวดินพอดี ความชื้นในมวลดิน ณ จุดนั้น คือ ค่าขีดจำกัดพลาสติก
การทดสอบแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด Unconfined Compression Test (ASTM D 2166)
งานทดสอบดิน การทดสอบแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด (Unconfined Compression Test) จะเริ่มด้วยการนำตัวอย่างดินคงสภาพ มาตัดแต่งให้เป็นรูปทรงกระบอก ให้ขนาดความสูงของตัวอย่างดินมากกว่า 2 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลาง ตัดแต่งโดยใช้เลื่อยเส้นลวด และเครื่องตัดแต่งตัวอย่างดิน ใช้กระบอกแบบ (Miter box) แบบผ่าหุ้มตัวอย่างดิน ในการที่จะตัดส่วนล่างและส่วนบนของตัวอย่างดิน ให้ได้ความยาวตามต้องการ แล้วทำการวัดขนาดที่แน่นอนโดยใช้เวอร์เนีย วัดความสูง 3 ค่ารอบตัวอย่าง และวัดศูนย์กลาง วัดตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย นำตัวอย่างดินจัดวางลงบนเครื่องทดสอบ ทำการกดตัวอย่างดิน โดยอัตราการกดตามความเหมาะสมในช่วงอ่านต่าง ๆ กัน เพื่อบันทึกข้อมูลจากวงแหวนวัดแรงทุก ๆ การหดตัว เมื่อแรงในวงแหวนวัดแรงเพิ่มขึ้นไปสูงสุดแล้วเริ่มจะลดลง จัดว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่า ถึงจุดสูงสุดของกำลังของดิน อ่านผลต่อไปจนเห็นแนวเฉือน (Failure plane) บนตัวอย่างดินได้ชัดเจน หรือทดสอบดิน จนดินหดตัวประมาณ 20% ของความสูงของตัวอย่างดิน เขียนรูปตัวอย่างลักษณะการเกิดรอยเฉือน และวัดมุมที่รอยเฉือนทำกับแนวราบ นำตัวอย่างดินที่ทำการทดสอบดินเรียบร้อยแล้วไปชั่ง จบที่ขั้นตอนของการนำตัวอย่างดินเข้าตู้อบ เพื่อหาปริมาณความชื้น (Moisture Content)
การทดสอบหาปริมาณความชื้นในดิน Natural Water Content Test (ASTM D 2216)
การทดสอบดิน เพื่อหาปริมาณความชื้นในดิน (Natural Water Content Test) เราสามารถทำได้โดยการชั่งตัวอย่างดินที่ต้องการ แล้วนำไปอบ ณ อุณหภูมิ 110 ±5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือจนดินแห้งสนิทและมีน้ำหนักคงที่ นำดินแห้งไปหาน้ำหนักโดยการชั่งหาน้ำหนัก แล้วคิดค่าปริมาณความชื้นของดินเป็นสัดส่วนต่อน้ำหนักดินแห้ง เป็นเปอร์เซ็นต์
การทดสอบหาขนาดของเม็ดดิน Sieve Analysis (ASTM422)
การทดสอบหาขนาดของเม็ดดิน (Sieve Analysis) เป็นการทดสอบดิน ที่ใช้วิธีการ ร่อนดินผ่านตะแกรง มีลักษณะเป็นช่องขนาดต่าง ๆ เช่น #4, #40, #100 และ #200 เป็นต้น
การทดสอบหาค่าหน่วยน้ำหนัก Total Unit Weight (ASTM-D4750, D-3550, D-4220)
การทดสอบดิน เพื่อหาค่าน้ำหนักรวมต่อหน่วยปริมาตรของมวลดิน (Total Unit Weight) ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการคำนวณค่าหน่วยแรงกดทับของชั้นดินในระดับความลึกต่าง ๆ (Overburden Pressure) การทดสอบดินนี้ จะเริ่มต้นด้วย การดันดินออกจากกระบอกบาง หรือกระบอกผ่าแล้วทำการตัดแต่งตัวอย่าง วัดขนาดส่วนสูง และเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย แล้วนำไปชั่งน้ำหนัก เพื่อคำนวณหาค่าน้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร