ตรวจสอบรายงานทดสอบดิน

รายงานการเจาะสำรวจดินและทดสอบดินจะถูกต้อง และสมบูรณ์แบบได้นั้น จะต้องชัดเจน ตั้งแต่เริ่ม งานเจาะสำรวจชั้นดิน เก็บตัวอย่างดินในสนาม แล้วนำไปทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ นำข้อมูลผลการทดสอบดิน ลักษณะชั้นดิน ปรับใช้ในการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของฐานราก สรุปจบที่รายงานเพื่อตอบโจทย์งานบริการด้านวิศวกรรมปฐพีกลศาสตร์

เรามีการตรวจสอบรายงานผลเจาะสำรวจดิน และทดสอบดินทุกครั้ง ตามขอบเขตของงานเจาะสำรวจดิน งานเจาะสำรวจดินฐานรากในสนาม งานทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ทุกอักขระตัวอักษร ตั้งแต่ชื่อโครงการ ตำแหน่งที่ตั้งโครงการจุดเจาะสำรวจดิน กราฟแสดงลักษณะและคุณสมบัติชั้นดินของหลุมเจาะ (Boring Logs) และค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เทียบกับความลึก ที่ได้จากผลสรุปการทดสอบดิน Summary of soil test Results เช่น ชนิดของดิน, ความหนาแน่น, ความชื้น, แสดงผลการทดสอบ Atterberg’s Limits Test กราฟในช่องนี้ จะทำให้พิจารณาได้ชัดเจนว่า ความชื้นของดินใกล้เคียงขีดจำกัดเหลว หรือขีดจำกัดพลาสติกมากน้อยเพียงใด ค่ากำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดได้จากการทดสอดิน Unconfined Compression Test หรือกำลังต้านทานแรงเฉือนของดิน (UC) โดยวิธีทดสอบแรงอัดแกนเดียว ทดสอบในแนวดิ่งโดยไม่มีแรงดันด้านข้าง ตัวอย่างดินที่เก็บไปทดสอบด้วยวิธีนี้ คือ ตัวอย่างดินคงสภาพ (Undisturbed Sample) ในชั้นดิน มีลักษณะ เป็นชั้นดินเหนียวอ่อนถึงแข็งปานกลาง โดยส่วนใหญ่แล้วจะทำการทดสอบกำลังต้านทานแรงเฉือนของดิน ตัวอย่างดินที่เก็บก็จะใช้กระบอกเก็บตัวอย่างชนิดกระบอกบาง (Thin Wall Tube) ส่วนการเก็บตัวอย่างดินเปลี่ยนสภาพ (Disturbed Sample) การเก็บตัวอย่างดินเปลี่ยนสภาพ จะทำพร้อมกับการทดสอบการตอกทดลองมาตราฐาน Standard Penetration Test ตามมาตรฐาน ASTM D-1586 ซึ่งการทดสอบจะกระทำการโดยใช้ลูกตุ้มที่มีน้ำหนัก 140 ปอนด์ ยกสูง 30 นิ้ว ปล่อยกระแทกกระบอกผ่า (Split Spoon Sample) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก 2 นิ้ว ให้กระบอกผ่าจมลงไปในดินจนครบ 18 นิ้ว บันทึกจำนวนครั้งของการกระแทกลูกตุ้มที่กระบอกผ่าจมลงไปในดินทุก ๆ 6 นิ้ว 3 ช่วง ผลรวมจำนวนครั้งของการกระแทก สองช่วงสุดท้ายจะเป็นค่า SPT N-Value เป็นค่าพารามิเตอร์จากสนาม ตัวอย่างชั้นดินที่เก็บได้ และมีความชัดเจนในตัวอย่งดินเปลี่ยนสภาพ คือ ชั้นดินเหนียวแข็งถึงแข็งมาก (Stiff to Very Stiff Clay) กราฟที่แสดงค่าพารามิเตอร์เหล่านี้มีความสำคัญในการวิเคราะห์สภาพชั้นดิน

สรุปผลการวิเคราะห์ดิน (Summary of Soil Test Results) โดยเน้นความถูกต้องของการบันทึกคุณสมบัติทางกลศาสตร์ดิน การแยกประเภทของชั้นดิน ตามคุณสมบัติของชั้นดินนั้น ๆ จบที่รายการคำนวณกำลังรับน้ำหนักของดิน ก็จะมีในเรื่องของ แรงเฉียดทานประลัยที่ผิวเสาเข็ม (Ultimate Skin Friction), Qf สามารถหาได้ โดยแบ่งดินเป็นชั้นย่อย ตามคุณสมบัติที่เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน แล้วจึงคำนวณหาแรงเสียดทานประลัย แรงต้านทานประลัยที่ปลายเสาเข็ม (Ultimate End Bearing), Qe เป็นวิธีการเลือกความลึกของปลายเสาเข็ม ให้เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างปลอดภัย ประหยัดที่สุด ถูกต้องที่สุด และไม่มีปัญหาในระหว่างก่อสร้าง เช่น ตอกเสาเข็มไม่ลง พร้อมส่งมอบรูปเล่มรายงานถึงมือลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

Comments are closed.