ARTICLE

หลุมยักษ์กลางกัวเตมาลา ปี 2007

หลุมยุบ ธรณีพิบัติภัยของธรรมชาติ

หลุมยุบ หรือ Sinkhole เป็นธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง เกิดตามธรรมชาติ แต่กิจกรรมของมนุษย์เร่งให้เกิดเร็วขึ้นได้ พบได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่ใต้ผิวดินเป็นหินปูน หินโดโลไมต์ และหินอ่อน ซึ่งหินเหล่านี้ละลายได้ในน้ำใต้ดิน และเมื่อเพดานต้านทานน้ำหนักของดินและสิ่งก่อสร้างที่กดทับด้านบนไม่ไหว จึงพังกลายเป็นหลุมยุบ

soil degradation

ดินเสื่อมโทรม

ดินเสื่อมโทรม เป็นลักษณะของดินที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทำให้ลำคลองตื้นเขิน เนื่องจากกรวด ดิน ทราย จะถูกพัดพาไปตกทับถม อีกทั้งทำให้เนื้อที่ป่าไม้ หรือพื้นที่ทำการเกษตรกรรมลดลง

boring test view

เจาะสำรวจชั้นดิน…ไม่ง่ายอย่างที่คิด…

ฐานรากเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ถ้าฐานรากวิบัติก็หมายถึงอาคารทั้งหลังมีโอกาสวิบัติไปด้วย แต่เป็นเรื่องแปลกที่วิศวกรหลายคนกลับไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเจาะสำรวจดินเพื่อการออกแบบฐานราก ผมเคยได้รับคำถามง่าย ๆ ที่ตอบยากหลายครั้ง เช่น “ที่ขอนแก่นใช้เสาเข็มยาวเท่าไร” “ที่มหาสารคามใช้ฐานแผ่ได้ไหม” เป็นต้น และยังมีการแนะนำจากวิศวกรรุ่นพี่ที่ถ่ายทอดสู่รุ่นน้องแบบผิด ๆ อีกเคยได้ยินคนพูดว่ากำลังของเสาเข็มหน่วยเป็นตันจะเท่ากับขนาดของเสาเข็มหน่วยเป็นเซนติเมตร เช่น เข็มขนาด 30 เซ็นติเมตรจะรับน้ำหนักได้ 30 ตัน ถ้างานฐานรากง่ายอย่างที่ถามหรือพูดกัน คงไม่จำเป็นต้องสอนวิชาวิศวกรรมฐานรากกันแล้ว