‘ถึงใกล้ ชั้นดินก็ต่าง’ผลงานเจาะสำรวจดิน เมษายน 2558
หากกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าเราจะขึ้นเหนือล่องใต้ เราก็จะได้ประสบพบเจอกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดิน กรวด หิน แร่ แม่น้ำ ลำธาร บึง หนองน้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร ต้นไม้ใบหญ้า ป่าเขาลำเนาไพร คุณก็จะรู้ว่า สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเราทุกคนบนโลกใบนี้ จากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้สิ่งของต่าง ๆ ที่มีวิวัฒนาการมาจากทัพยากรธรรมชาติ รู้จักการทำเครื่องมือ เครื่องใช้อย่างหยาบ ๆ ด้วย หิน ไม้ กระดูก และเขาสัตว์ เพื่อใช้ในการออกล่าสัตว์มาเป็นอาหาร
ในส่วนของใบไม้ เปลือกไม้ หนังสัตว์ ก็ได้ถูกนำมาใช้ปกปิดร่างกาย เพื่อรักษาอุณภูมิร่างกายให้อยู่ในภาวะที่อบอุ่น หรือ ประดับร่างกายเพื่อแสดงถึงศักยภาพในการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อมาก็ได้มีการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นสำหรับสมาชิกในครอบครัว ก้าวขึ้นสู่ระดับขั้นของการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพื่อการค้าในยุคปัจจุบัน นวัตกรรมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก การประดิษฐ์ คิดค้น และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น จัดว่าเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนให้โลกและมนุษย์ขยับไปอยู่ในจุดที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสภาพทางภูมิศาสตร์และชีววิทยาของโลกที่เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ อากาศเริ่มอบอุ่นขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกค่อย ๆ ละลาย มนุษย์ก็จำเป็นต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านความปลอดภัยของมนุษย์ ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ เมื่อครั้งอดีตที่มนุษย์เคยอาศัยอยู่ตามถ้ำ เพื่อเป็นที่หลบภัยธรรมชาติ ภัยจากสัตว์ร้าย ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนเป็นที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่งสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกที่อยู่อาศัยแบบเน้นคุณภาพ ต้องมีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ในส่วนของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยนั้น ย่อมแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ ในที่นี้จะขอชี้เฉพาะเจาะจงไปในทิศทางของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งบ้าน หรือ ชุมชน ที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ก็ควรจะเป็นบ้านที่มีลักษณะยกพื้นใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันอุทกภัยน้ำท่วมและระบายอากาศได้ดีไม่ร้อนจัด หลังคาทรงจั่วแหลมเพื่อให้น้ำฝนไหลลงได้สะดวก ส่วนลักษณะโครงสร้าง หรือ ตัวบ้าน ก็จะนำวัสดุประเภทไม้มาใช้เป็นองค์ประกอบหลัก บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่น ลักษณะของบ้านก็จะตั้งบนพื้นดิน ไม่มีการยกพื้นใต้ถุนสูงแต่อย่างใด ผนังของบ้านจะทึบแน่น เพราะต้องการควาอบอุ่น เพื่อป้องกันอากาศหนาวในฤดูหนาวที่มีหิมะตกหนัก จากพื้นบ้านลงสู่พื้นดิน สภาพภูมิอากาศก็ยังมีอิทธิพลต่อการเกิดของดิน ในลักษณะของอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกัน ปริมาณน้ำฝนที่ไม่เท่ากัน จัดว่าเป็นตัวการสำคัญที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสลายตัวของหิน แร่ ทั้งในด้านกายภาพ ด้านเคมี รวมถึงอัตราความเร็วของการเคลื่อนย้ายและการสะสมใหม่ของหิน แร่ ที่ถูกแปรสภาพโดยปัจจัยตัวสำคัญ มาเป็นวัตถุต้นกำเนิดของดินในเขตร้อน หิน แร่ จะสลายตัวมาเป็นดินได้เร็วกว่าในเขตอบอุ่น หรือ หนาว เนื่องจากในเขตร้อนมีอุณภูมิสูง และมีปริมาณน้ำฝนตกมากกว่าเขตอบอุ่น การผุพังสลายตัวก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องมาถึงดินที่เกิดในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง มักจะเป็นดินตื้น มีชั้นดินน้อย มีการชะล้างหน้าดินมาก ชั้นดินระดับบนจะบาง หรืออาจไม่มีชั้นดินระดับบนเลยก็ว่าได้ ตรงกันข้ามกับดินที่อยู่ในที่ราบลุ่ม ที่มักจะมีชั้นดินเบื้องบนหรือชั้นดินในระดับตื้นที่หนากว่า เนื่องจากเป็นแหล่งทับถมของตะกอน ซึ่งเนื้อดินจะละเอียดกว่า เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายดินตะกอนจากชั้นบนลงไปสะสมอยู่ในดินชั้นล่าง ซึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่าง ลักษณะชั้นดินเหนียวอ่อน ที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากข้อสันนิฐานเบื้องต้นพบว่า ลักษณะภูมิประเทศดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเคยเป็นทะเลมาก่อนเมื่อกว่า 10,000 ปีที่แล้ว น่าจะเป็นเหตุผลประการหนึ่ง ที่ทำให้ลักษณะชั้นดินชั้นบนสุดเป็นดินที่ตกตะกอนในน้ำทะเล จึงมาคู่กับความอ่อนตัวของดิน จึงบอกได้คำเดียวว่า ลักษณะชั้นดินที่พบนั้น เป็นชั้นดินเหนียวอ่อนลึกประมาณ 8 ถึง 12 เมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ซึ่งบางพื้นที่อาจลึกลงไปกว่านั้นมาก ชั้นดินเหนียวก็ไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารโดยตรงได้ จึงจำเป็นต้องมี ฐานราก เสาเข็ม มารับ และถ่ายน้ำหนักอาคารลงไปถึงระดับชั้นดินด้านล่าง ซึ่งแข็งแรงกว่า และสามารถรับน้ำหนักของตัวอาคารได้ อาคารขนาดเล็กจำพวก บ้านที่อยู่อาศัย จะวางปลายเสาเข็มไว้ที่ชั้นดินเหนียวแข็ง หรือชั้นทรายชั้นแรก อาคารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปก็จะใช้เสาเข็มยาวขึ้น เพื่อให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น แต่ปลายเสาเข็มก็จะพยายามวางไว้ที่ชั้นทรายแน่นชั้นใดชั้นหนึ่ง แต่ความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดจากความแปรปรวนของสภาพชั้นดิน ก็อาจเป็นไปได้กับทุกที่ ทุกเวลา ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ ระดับน้ำใต้ดิน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบไม่ทันระวังตั้งตัว มีการทับถมอย่างรุนแรงของตะกอนใหม่ “สภาพชั้นดินที่อยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกัน หรืออยู่ไม่ไกลกันมากนัก สภาพชั้นดินก็อาจมีความแตกต่างกันได้ ซึ่งลักษณะของชั้นดินที่พบอาจเป็นชั้นทรายหลวมผิดปกติ ระดับความลึกของชั้นดินที่แข็งแรงมีความผันแปรสูง จากสภาพของชั้นดินดังกล่าว อาจทำให้ฐานรากเกิดการวิบัติก็เป็นได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นเจ้าของโครงการ ผู้รับเหมาโครงการงานก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษาวิศวกร ต้องจัดให้มีงานเจาะสำรวจดิน อีกทั้งยังสามารถสร้างผลงานการเจาะสำรวจดิน ประจำเดือนเมษายน 2558”
ที่มา : https://eitprblog.blogspot.com/2015_07_01_archive.html?view=sidebar
โครงการ อาคารเรียน 5 ชั้น 1 อาคาร และสระว่ายน้ำ 1 อาคาร บริเวณ ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมากเขตบางกะปิ กรุงเทพฯ |
โครงการอาคารสูง 4 ชั้น ถ.ประเสริฐมนูกิจ ซอย 25แยก 2 กทม. บริเวณ แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร |
โครงการบ้านพักอาศัย 3 ชั้น บริเวณ ต.บ้านใหม่อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี |
โครงการ The Wealth Projectบริเวณ ถ.ลำลูกกาคลอง 9 ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี |
โครงการ บริษัท ต.ปราสาททองบริการ 2014 จำกัด บริเวณ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
โครงการก่อสร้างโรงอาหารขนาด 300 ที่นั่งบริเวณ ศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา |
โครงการ ก่อสร้างโกดังสินค้า บริเวณ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ |
โครงการโรงงานบริษัท วงศ์ชัย จำกัดบริเวณ ต.ศรีมหาโพธิ์ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม |
TRUEGIF PROJECT สถานี BKF 8591Bแขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร |
โครงการติดตั้งเครนสนามขนาด 25 ตัน + 25 ตันบริเวณ กองคลังยุทโธปกรณ์สรรพาวุธ อ.เมือง จ.สระบุรี |
โครงการ งานจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสถานีโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ ปากบารา บริเวณ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
โครงการ PEDESTRIAN BRIDGE AT RAMP – RP07 CH. 0 + 245.000 บริเวณ แขวงตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |