ชนิดและวัฎจักรของหิน (หินอัคนี)

หิน คือ ก้อนวัตถุแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่หลายชนิดผสมกันและเกาะรวมกันอยู่ นักธรณีวิทยาใช้ลักษณะการเกิดเป็นเกณฑ์ในการจำแนกหินออกเป็น 3 ประเภท คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร

นักธรณีวิทยาใช้ลักษณะการเกิดเป็นเกณฑ์ในการจำแนกหินออกเป็น 3 ประเภท คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร

หินอัคนี คือ หินที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืดที่ร้อนจัด ซึ่งอาจจะเย็นตัวภายในเปลือกโลกหรือภายนอกเปลือกโลก

หินหนืด คือ หินหลอมเหลวละลายที่ร้อนจัด ถ้าอยู่ในเปลือกโลก เรียกว่า แมกมา (magma) ถ้าผุดพ้นออกมาบนผิวโลกเรียกว่า ลาวา (lava)

ภูเขาไฟ คือ หินที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวาภายนอกเปลือกโลก ทำให้มีเนื้อละเอียด ไม่มีดอกหรือลาย

รูปหัวหนืด ลาวา และภูเขาไฟ

รูปหัวหนืด ลาวา และภูเขาไฟ

หินอัคนี มีส่วน ประกอบเป็นผลึกของแร่มากมายหลายชนิดรวมกันอยู่ ผลึกของแร่ที่เกิดในหินอัคนีจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเย็นตัวของหินหนืด ถ้าหินหนืดเย็นตัวช้าจะได้ผลึกขนาดใหญ่ ถ้าหินหนืดเย็นตัวเร็วจะได้ผลึกขนาดเล็ก

ชนิดของหินอัคนี

หินอัคนีมีหลายชนิด เช่น หินแกรนิต หินบะซอลล์ หินออบซิเดียน และหินสคอเรีย

หินแกรนิต เป็นหินที่แข็งค่อนข้างหยาบ ทนทานต่อการผุพังสึกกร่อน มีผลึกแวววาว สวยงามใช้ประดับอาคาร

หินบะซอลล์ เป็นหินที่มีเนื้อแน่นละเอียด มีรูพรุน มักมีสีดำเทาแก่ หรือน้ำตาลแก่ ทนทานต่อการผุพังสึกกร่อน ใช้สำหรับทำถนนหรือใช้ในการก่อสร้างทั่วไป

หินออบซิเดียน เป็นหินที่มีเนื้อละเอียดคล้ายแก้ว และแข็งแกร่งมาก เมื่อแตกออกรอยแตกจะคมเหมือนแก้วแตก ทำรอยขูดขีดบนโลหะแข็ง ๆ ได้

หินสคอเรีย เป็นหินแข็ง สาก เปราะ เบา และมีรูพรุน ไม่ทนต่อการสึกกร่อน ใช้ทำหินสำหรับขัด

ที่มา : http://www.kr.ac.th/tech/det48m2/soil06.htm

Comments are closed.