การทดสอบค่ารั่วซึมของน้ำผ่านชั้นดิน Field permeability test
การทดสอบค่ารั่วซึมของน้ำผ่านชั้นดิน SOIL PERMEABILITY TEST การทดสอบดินด้วยวิธีนี้เรียกว่า Gravity Test ซึ่งอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก นิยมใช้การทดสอบ Gravity Open-end Test ตามมาตราฐาน USBR Designation E-18 โดยวัดปริมาณน้ำที่รั่วซึมในช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ จากนั้นก็จะมีการนำค่าที่ได้มาคำนวณหาค่าการรั่วซึมน้ำผ่านชั้นดิน ซึ่งจะเห็นได้ว่า วิธีการเหล่านี้ จะเริ่มต้นด้วยการเจาะดิน และฝั่งท่อลงไปในดิน ในกรณีที่ชั้นดินต้องการหาค่าความซึมน้ำ แต่ต้องอยู่เหนือระดับน้ำใต้ดิน แล้วแต่จะเลือกใช้ว่า จะสูบน้ำเข้าไปในหลุมเจาะ หรือสูบน้ำออกจากหลุมเจาะ แล้ววัดอัตราการไหลของน้ำที่จะรักษาระดับความดันคงที่ ค่าสัมประสิทธิ์ความซึมน้ำ (Coefficient of Permeability, k)
“การทดสอบค่ารั่วซึมของน้ำ ใช้วิธี Open-end test ทุกระยะ 1 เมตร และในชั้นหินทดสอบด้วยวิธี Packer test ทุกระยะ 3 เมตร หรือวิธี Gravity Test ในกรณีที่ไม่สามารถอัด Packer ได้”
ความรั่วซึมได้ของน้ำในดิน (Permeability) ก็จะเป็นไปในลักษณะรูปแบบการไหลของน้ำ เซาะไปตามช่องว่างของดิน ที่มีความดันหรือระดับต่างกันระหว่างจุด 2 จุด การที่น้ำจะไหลซึมผ่านได้เร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน ปริมาณการไหลและอัตราการไหลของน้ำ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติด้านการรั่วซึมของดิน ในดินเม็ดหยาบ เช่น กรวด ทราย จะอนุญาตให้น้ำไหลซึมผ่านได้อย่างไว เป็นดินที่ง่ายกับการไหลซึมของน้ำ ค่า k สูง ส่วนดินเหนียว ดินตะกอน เป็นดินอนุญาตให้น้ำไหลซึมผ่านได้แบบสโลว์ไลฟ์ ค่า k จะต่ำ หรือเรียกอีกอย่างว่า เป็นดินที่น้ำไหลซึมผ่านได้ยาก (Impervious soil)
แต่ในบางครั้งความยากในการซึมผ่านอาจไปอยู่ในชั้นทราย แต่ต้องเป็นชั้นทรายที่มีคุณสมบัติของดินที่แน่นมาก เพื่อเพิ่มความมั่นใจ ต้องมีการเจาะสำรวจดิน และเก็บตัวอย่างดินมาทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ก็พบว่า ชั้นดินดังกล่าวนั้นเป็น ชั้นทรายปนดินตะกอนแน่นมาก ในสัดส่วนของดินตะกอนต้องเยอะมากพอสมควร ซึ่งจะเห็นได้จากเปอร์เซ็นต์การผ่านตะแกรงเบอร์ #200 ต้องเยอะมาก ก็เป็นการยืนยันถึงความเป็นไปได้ว่า ชั้นทรายจะไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย ๆ